โดยทั่วไปแล้วเราทำการเซ็นลายมือชื่อรับรองข้อความในเอกสารต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักฐานในการตอบรับข้อความนั้น รวมไปถึงการแสดงความเป็นเจ้าของและยืนยันในสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของลายเซ็นในข้อความของเอกสารนั้น ๆ
แต่ในบางครั้งหากเราจำเป็นต้องการเซ็นลายเซ็นในเอกสารที่มีเกี่ยวข้องการเงิน กฏหมาย เอกสารการซื้อขายหุ้น การอนุมัติโครงการ พินัยกรรม ข้อสัญญาต่าง ๆ การจองห้องพัก หรือไปจนถึงเอกสารใบรับรองสุขภาพ ซึ่งเป็นเอกสารที่เป็นผลประโยชน์และสำคัญต่อตัวเรา
บางครั้งเราไม่สามารถใช้ลายเซ็นปกติได้เพราะอาจจะมีคนที่สวมลอยเป็นตัวเรา แล้วใช้ผลประโยชน์ต่อเอกสารเหล่านั้นก็เป็นได้ การหันมาใช้ลายเซ็นดิจิทัลจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งานเอกสารเหล่านี้
ตามนิยามของมาตรา 26
นั่นเพราะลายเซ็นดิจิทัลนั้นเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จัดอยู่ในประเภท “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้” ซึ่งเป็นตามมาตรา 26
ตามนิยามของมาตรา 26 นั้นคือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ทำการเข้ารหัสลับ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวตนของเจ้าของลายมือชื่อและตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและเจ้าของลายมืออิเล็กทรอนิกได้ รวมถึงการทำให้เจ้าของลายมือชื่อไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบจากข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้นั่นเอง
ดังนั้นการหันมาใช้การเซ็นลายเซ็นแบบลายเซ็นดิจิทัลจะทำให้เอกสารนั้นมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือสูงกว่าเซ็นเอกสารด้วยลายเซ็นแบบปกติ
ผู้เขียน นางสาวศุภลักษณ์ สิงห์จารย์
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564