ความจริงแล้วลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น ได้หลายประเภทเลยเดียว ขึ้นอยู่กับการใช้งานจริงว่าเหมาะสมกับงานประเภทไหน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบทั่วไป
สำหรับประเภทนี้เราจะรู้จักกันดีในนิยามทั่วไปของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 9 หรือ Electronic Signature ซึ่งลายมือชื่อประเภทนี้เป็นซึ่งที่เอาไว้รับรองข้อความของเอกสารสัญญาหรือข้อกำหนดที่ปรากฏดังในเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่าง
-
-
การทำเครื่องหมายลายเซ็นในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
-
การกดเครื่องหมายหรือปุ่ม “ยอมรับ” ของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นการสมัครอีเมล การสมัครสมาชิก หรืออื่น ๆ
-
การพิมพ์ชื่อลงท้ายของข้อความ
-
การแสกนหรือรวมไปถึงการอัพโหลดรูปแบบของลายเซ็น
-
ซึ่งจากกรณีดังกล่าวเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่แสดงการยืนยันข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ก็จริง แต่อาจจะขาดความเชื่อถือได้เนื่องอาจจะมีการปลอมแปลงตัวตน รวมไปถึงการสวมรอยของเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นก็ได้
2. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบเชื่อถือได้ ซึ่งยังแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ
-
-
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 26 ซึ่งหมายถึงลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) ยกตัวอย่างเช่น ลายมือชื่อดิจิทัลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure : PKI)
-
เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26 และอาศัยใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) และยังสนับสนุนมาตรา 28 อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ลายมือชื่อดิจิทัลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (PKI) และใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง (CA)
-
ซึ่งจะเห็นลายมือชื่อนั้นมีหลายประเภทซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานจะเลือกการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับงานในรูปแบบไหน เช่น หากเป็นงานที่เกี่ยวข้องเอกสารในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ควรใช้ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบเชื่อถือได้”
แต่ถ้าหากเป็นการสมัครสมาชิกทั่วไปก็ใช้ลายมือชื่อแบบทั่วไปเพื่อลงชื่อและยืนยันข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสมัครสมาชิกนั้นก็จะเหมาะสมมากกว่า
ผู้เขียน นางสาวศุภลักษณ์ สิงห์จารย์
วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564